วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สัตว์ที่มีกระดูดสันหลัง





       สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง  เป็นสัตว์ที่มีกระดูกต่อกันเป็นข้อๆ กระดูกเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นแกนของร่างกาย
แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1.  สัตว์จำพวกปลา
                       2.  สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก
                       3.  สัตว์เลื้อยคลาน
                       4.  สัตว์ปีก
                       5.  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

สัตว์มีกระดูกสันหลัง
 สัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ชั้นสูงมีเนื้อเยื่อของร่างกายเจริญเป็นอวัยวะที่มีการทำงานซับซ้อน มีกระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นแกนกลางของร่างกาย ช่วยให้ร่างกายคงรูปที่แน่นอนอยู่ได้ส่วนมากมีขนาดใหญ่อาศัยอยู่ทั้งในน้ำและบนบก สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีวิวัฒนาการสูงกว่าสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
            นักวิทยาศาสตร์ได้แบ่งสัตว์มีกระดูกสันหลังตามลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ออกเป็น 5 พวก ได้แก่
 1. พวกปลา 2. พวกครึ่งน้ำครึ่งบก 3. พวกสัตว์เลื้อยคลาน 4. พวกสัตว์ปีก 5. พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ปลา
ปลา เป็นสัตว์เลือดเย็น สามารถปรับอุณหภูมิของร่างกายตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม อาศัยอยู่ในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีกระดูกสันหลังต่อกันเป็นข้อๆ ภายในร่างกายลักษณะสำคัญ คือ มีครีบช่วยในการว่ายน้ำ หายใจด้วยเหงือก มีถุงลมอยู่ในตัว ช่วยลดและเพิ่มปริมาณอากาศ และยังช่วยในการลอยตัวของปลา มีขากรรไกรบนและล่าง สามารถอ้าปากเพื่อฮุบน้ำที่มีอาหารปนอยู่ บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มีเกล็ด บางชนิดมีฟันแหลมคม สามารถจับเหยื่อได้เป็นอย่างดี รูปร่างของปลาแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน บางชนิดมีลำตัวยาว เช่น ปลาไหลบางชนิดลำตัวทรงกระบอง เช่น ปลาช่อน บางชนิดมีลำตัวแบน เช่น ปลากระเบน ส่วนปลาปักเป้ามีลำตัวค่อนข้างกลม และมีหนามแหลมยื่นออกตามิวหนังเพื่อป้องกันตัว มัาน้ำมีรูปร่างแปลกกว่าปลาอื่นๆ มีหางม้วนงอสำหรับจับยึดกิ่งไม้หรือปะการังใต้น้ำได้ด้วย กระดูกของปลา เราเรียกว่า ก้าง บางชนิดมีเมือกที่ทำให้ลื่นสามารถเคลื่อนที่ได้สะดวก 

ครึ่งน้ำครึ่งบก
สัตว์พวกนี้ เป็นสัตว์เลือดเย็นเหมือนกับปลา อาหารที่กินจะเป็นตัวหนอน และแมลง โดยใช้ลิ้นตวัดเข้าปาก ตอนเป็นตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในน้ำ เมื่อโตเต็มวัยจะขึ้นมาอาศัยอยู่บนบก แต่สามารถยังอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ได้แก่ กบ อึ่งอ่าง คางคก เขียด ปาด จงโคร่ง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับคางคก
          ลักษณะสำคัญ มีผิวหนังเรียบไม่มีเกล็ด และเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา เพราะมีต่อมสร้างน้ำเมือกคอยขับน้ำเมือกออกมาถ้าผิวหนังแห้งบางพวกอาจต่อมพิษอยู่ตามผิวหนังที่ขรุขระสัตว์พวกนี้ตอนเป็นตัวอ่อนจะมีหางและมีรูปร่างคล้ายปลา อาศัยอยู่ในน้ำ หายใจด้วยเหงือก เรียกว่า " ลูกอ๊อด ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง โดยเหงือกค่อยๆ หายไป และปอดใช้หายใจแทนเหงือก ขาเริ่มงอก หางหดสั้นลงจนมีรูปร่างเหมือนตัวเต็มวัย แต่มีขนาดเล็ก ขึ้นมาอาศัยบนบก และเจริญเติบโต นอกจากหายใจด้วยปอดแล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนก๊าชผ่านทางผิวหนังที่บางและชุ่มชื้นได้อีกทางหนึ่งด้วย ทำให้สามารถอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานาน ในฤดูหนาวและฤดูร้อน สัตว์พวกนี้จะหลบความแห้งแล้งและขาดแคลน อาหารไปอยู่ที่ชุ่มชื้น โดยขุดรูหรือฝังตัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า " การจำศีล " ในช่วงนี้จะไม่กินอาหาร โดยจะใช้อาหารที่สะสมไว้ในร่างกายอย่างช้าๆ เพื่อรอฤดูฝนจะออกมากินอาหารตามปกติ 
 


สัตว์เลื้อยคลาน

สัตว์พวกนี้ เป็นสัตว์เลือดเย็น อาศัยอยู่บนบกเป็นส่วนใหญ่ จะลงไปหาอาหารในน้ำ เวลาพักผ่อนจะขึ้นมาอยู่บนบกหรือริมน้ำ ยังพบว่าสัตว์พวกนี้ มีอุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัยพวกปลาและสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก ได้แก่ จระเข้ เต่า ตะพาบ งู กิ้งก่า จิ้งจก
ลักษณะสำคัญ  มีผิวหนังหนาและแห้ง มักมีเกล็ดแข็งปกคลุมร่างกาย หายใจด้วยปอด มีขา 4 ขา ปลายนิ้วมีเล็บช่วยจิกในการเคลื่อนที่ และอาจมีการเปลื่ยนแปลงลักษณะให้เหมาะสมกับการเคลื่อนที่ เช่น เปลี่ยนไปเป็นใบพายสำหรับว่ายน้ำ เช่น เต่าทะเล ในเต่าและตะพาบน้ำเกล็ด จะเชื่อมติดต่อกันเป็นแผ่นใหญ่เรียกว่า " กระดอง " บางชนิดไม่มีขาจึงเคลื่อนที่ โดยการใช้วิธีการเลื้อย เช่น งู

 สัตว์ปีก
สัตว์พวกนี้  เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีอุณหภูมิของร่างกายคงที่ ไม่เปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อม เป็นสัตว์ที่มีการวิวัฒนการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน
แต่เนื่องจากขาหน้าของสัตว์ปีกเปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก เพื่อช่วยใน การบิน จึงเรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า สัตว์ปีก เราสามารถแบ่งสัตว์กลุ่มนี้ตามลักษณะ
การบินได้ 2 พวก คือ

     1. พวกบินได้ ส่วนใหญ่มีปีกเจริญดี สามารถใช้ในการบินไปมาในอากาศได้อย่างรวดเร็ว แต่มีบางพวกปรับโครงสร้างของร่างกาย ให้เหมาะ
สมกับสถานที่อยู่อาศัย จึงบินได้ต่ำ เช่น ไก่ เป็ด นกยูง นกขุนทอง

2. พวกบินไม่ได้ ส่วนใหญ่จะมีปีกขนาดเล็กมาก จึงไม่สามารถบินได้ การเคลื่อนที่จะอาศัยขาเดิน และวิ่งอย่างรวดเร็ว เช่น นกกระจกเทศ นกอีมู นกเพนกวิน

ลักษณะสำคัญ ขนมีลักษณะเฉพาะตัว คือ เป็นขนแบบแผง โดยขนเส้นเล็กๆ แต่ละเส้นจะเรียงชิดติดกันอยู่บนก้านยาว จะมีส่วนโคนฝังอยู่ที่บริเวณผิวหนัง ปากจะเป็นจงอย จะมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป เพื่อให้เหมาะสมกับการกินอาหาร อาหารจะถูกกลืนลงสู่ทางเดินอาหาร โดยไม่การเคี้ยว เพราะในปากไม่มีฟัน อาหารจะเคลื่อนผ่านหลอดอาหารลงสู่กระเพาะพักเพื่อเก็บสะสม แล้วจึงส่งต่อให้กระเพาะจริง เรียกว่า กระเพาะบดหรือกึ๋น ช่วยบดอาหารให้ละเอียด โดยใช้เม็ดกรวดและทรายที่สัตว์พวกนี้จิกกินเข้าไปจากนั้นส่งต่อให้ลำไส้เล็กเพื่อย่อยจนสามารถดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้ จะเหลือกากอาหารจะถูกขับออกทางทวารหนักพร้อมปัสสาวะ เพราะท่อปัสสาวะของสัตว์ปีกจะมาบรรจบที่ปลายลำไส้พอดี มูลจึงมีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว เท้าของสัตว์ปีกจะมีลักษณะที่แตกต่างกันเพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต ที่บริเวณขาและนิ้วเท้าจะพบว่ามีเกล็ดอยู่ทุกชนิด มีปอดเป็นอวัยวะแลกเปลี่ยนก๊าซ สัตว์ปีกจะมีถุงลมที่บริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ที่ฐานของคอ ที่ท้อง ที่ทรวงอก ช่วยเก็บอากาศเพื่อส่งไปแลกเปลี่ยนก๊าซที่ปอด และถุงลมในร่างกายยังช่วยให้ร่างกายมีหนักเบาทำให้ลอยตัวอยู่ในอากาศได้ดี

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
สัตว์พวกนี้ เป็นสัตว์เลือดอุ่น สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้ แม้จะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณภูมิสูงหรือต่ำกว่าอุณหภูมิร่างกาย เป็นสัตว์ที่มีการวิวัฒนาการสูงสุด จึงเรียกว่า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เพราะว่าในเพศเมียจะมีต่อมน้ำนมเพื่อผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน เราสามารถแบ่งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมตามลักษณะของการออกลูกและเลี้ยงลูกได้ 3 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มที่ออกลูกเป็นไข่  พวกนี้จะวางไข่เหมือนสัตว์ปีกและสัตว์เลื้อยคลาน โดยมีเปลือกแข็งหุ้ม พบว่ามีเพียง 2 ชนิดเท่านั้น คือ ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด ซึ่งเป็นสัตว์พบเฉพาะออสเตรเลีย และนิวกินีเท่านั้นภายหลังตัวอ่อนออกจากไข่ แล้วกินนมจากแม่เพื่อเจริญเติบโตต่อไป
2. กลุ่มที่มีถุงหรือกระเป๋าบริเวณหน้าท้อง พวกนี้จะมีถุงบริเวณ หน้าท้องไว้สำหรับเลี้ยงดูตัวอ่อนซึ่งมีขนาดเ ล็กมากเพราะมดลูกของสัตว์กลุ่มยังไม่พัฒนาดีนัก จึงให้ลูกเจริญเติบโต ภายในมดลูกได้เพียงระยะสั้นๆ แล้วต้องให้ตัวอ่อนมาเจริญอยู่ภายในถุงบริเวณหน้าท้อง ได้แก่ จิงโจ้หมีโคอะม่า และวัลลาบี ( คล้ายจิงโจ้แต่มีขนาดเล็กกว่า ) ซึ่งพบเฉพาะในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น

 3. กลุ่มที่มีรก พวกนี้จะมีมดลูกที่พัฒนาดี โดยมีการสร้างรกเชื่อมระหว่างถุงหุ้มตัวอ่อนกับผนังมดลูกของแม่ ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนสารต่างๆ ระหว่างแม่กับตัวอ่อนรวมทั้งอาหารต่างๆ จากแม่ก็จะถูกส่งไปยังตัวอ่อน เพื่อให้เจริญเติบโตภายในมดลูก โดยผ่านทางรก ตัวอ่อนจะเจริญอยู่ภายในมดลูกของแม่จนสมบูรณ์เต็มที่ จึงคลอดออกมาและดูดกินนมจากแม่อีกระยะหนึ่งจนโตพอที่จะดำรงชีวิตได้เอง ได้แก่ คน ช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข แมว หมู เสือ สิงโต หมี
          ลักษณะที่สำคัญ  มีขนลักษณะเป็นเส้นสั้นๆ ปกคลุมลำตัว ตัวเมียมีต่อมผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงตัวอ่อน หายใจด้วยปอด มีหัวใจ 4 ห้อง มีแขน ขา ไม่เกิน 2 คู่ ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นบางชนิดออกเป็นไข่ เช่น ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด บางชนิดยังอาศัยอยู่ในน้ำ เช่น ปลาวาฬปลาโลมา ปลาพะยูน บางชนิดบินได้ เช่น ค้างคาว
การสืบพันธุ์  มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยมีการปฏิสนธิภายในร่างกายตัวเมีย ส่วนตัวอ่อนจะเจริญเติบโตอยู่ภายในมดลูกของแม่จนคลอดออกมาเป็นตัว ยกเว้นสัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่แล้วฟักเป็นตัว เพราะสัตว์พวกนี้ไม่มีมดลูก และพวกที่มีมดลูกไม่พัฒนาดีนักพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
เนื้อหาเพิ่มเติม